Doucumentary Preparation

1537548_10152229946857022_1908564435_o

 

ความยุ่งยากหนึ่งในการสมัครเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ คือการเตรียมเอกสาร ซึ่งเอกสารที่จะใช้อาจมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ ขอสรุปคร่าวๆ ดังนี้

 

America

1. ใบแสดงผลการเรียน (Transcript) หลักสูตรที่จบล่าสุดเป็นภาษาอังกฤษ

2. ผลสอบ IELTS หรือ TOEFL (ถ้ามี)*

3. ผลสอบ GMAT สำหรับผู้สมัคร MBA หรือ Business Program บางสาขา หรือ GRE สำหรับผู้สมัครสาขาวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering), ทางด้านการสื่อสาร (Communication) หรือในสาขาอื่นบางคณะ*

4. ผลสอบ SAT สำหรับผู้สมัครปริญญาตรี

5. หนังสือรับรองการทำงาน (บางคณะต้องการประสบการณ์ทำงานด้วย)

6. หนังสือรับรอง (Letters of Recommendation) จากอาจารย์หรือที่ทำงานอย่างน้อย 2-3 ฉบับ

7. ประวัติย่อหรือ เรียงความ (Resume / Statement of Purpose)

8. เอกสารการเรียนหรือฝึกงานอื่นๆ (ถ้ามี)

9. รูปถ่าย

10. สำเนาหน้าพาสปอร์ต

11. หนังสือรับรองฐานะทางการเงิน (Bank Statement)
ในบางกรณีอาจมีข้อยกเว้น เช่น ผู้ที่ไม่มีผลสอบ IELTS/TOEFL บางมหาวิทยาลัยสามารถสมัครเข้าได้เลยโดยไปเรียนภาษากับมหาวิทยาลัยนั้นๆ และสามามารถเข้าศึกต่อในระดับปริญญาตรีหรือโทได้ทันทีเมื่อจบภาษาอังกฤษระดับสูงของมหาวิทยาลัย หรือไม่มีผลสอบ GMAT/ หรือ GRE ก็สามารถสมัครเข้าเรียนได้เช่นกัน ในบางมหาวิทยาลัยไม่ต้องผลเหล่านี้ในการสมัครเข้าศึกษา

 

England, New Zealand  and Other

1. ใบแสดงผลการเรียน (Transcript) หลักสูตรที่จบล่าสุดเป็นภาษาอังกฤษ

2. ผลสอบ IELTS หรือ TOEFL (ถ้ามี)*

3. หนังสือรับรองการทำงาน (บางคณะต้องการประสบการณ์ทำงานด้วย)

4. หนังสือรับรอง (Letters of Recommendation) จากอาจารย์หรือที่ทำงานอย่างน้อย 2 ฉบับ

5. ประวัติย่อหรือ เรียงความ (Resume/ Statement of Purpose)

6. เอกสารการเรียนหรือฝึกงานอื่นๆ (ถ้ามี)

7. รูปถ่าย

 

Advice on Documentary Preparation

1. ศึกษาแต่เนิ่นๆ ว่าในการสมัครต้องใช้เอกสารใด

2. เผื่อเวลาให้เพียงพอในการขอเอกสาร โดยเฉพาะการขอ Letter of recommendation จากอาจารย์ หากติดต่ออาจารย์ผ่านอีเมลล์ ควรจะส่ง cv, transcript แนบไปด้วย เพื่อให้อาจารย์มีข้อมูลในการเขียน

3. การขอหนังสือรับรองฐานะทางการเงิน (Bank Statement) เป็นหนังสือที่ออกโดยธนาคารที่ Sponser ของนักศึกษามีบัญชีอยู่ โดย Bank Statement จะแสดงสถานะทางการเงินของผู้รับผิดชอบ เรื่องค่าใช้จ่ายของนักศึกษาว่า มียอดเงินสุดท้ายจำนวนเท่าไรทั้งสกุลเงินบาทและสกุลเงินต่างประเทศ บัญชีที่จะใช้รับรองควรเป็นบัญชีส่วนบุคคลมากกว่าบัญชีบริษัท และเป็นบัญชีที่เปิดมานานแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน เงื่อนไขเรื่องจำนวนเงินรวมถึงระยะเวลาที่เงินอยู่ในบัญชีอาจมีความแตกต่างกันออกไปตามแต่สถาบัน หลักการคร่าวๆ คือ นักศึกษาควรมีเงินเพียงพอ เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการเรียน และการดำรงชีวิตอยู่ในประเทศนั้นๆ
คำแนะนำ: ไม่ควรขอจดหมายรับรองฐานะการเงินจากธนาคาร ไว้ก่อนล่วงหน้านานๆ กงสุลต้องการเห็นเอกสารที่แสดงตัวเงิน ใกล้เคียงกับตัวเลขในบัญชีธนาคารในปัจจุบันมากที่สุด