How to Write SOP

1358939604_469790416_1-Pictures-of-Website-Statement-of-Purpose-SOP-Letter-Topic-Writing

Statement of Purpose เป็นการเขียนแนะนำตัวเอง และแสดงวัตถุประสงค์อันแรงกล้าว่าเพราะเหตุใด ฉันจึงอยากเข้าศึกษาต่อในคณะแห่งนี้ และในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยใช้ SOP เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาคัดเลือกนักศึกษา ประกอบกับการพิจารณาเกรดเฉลี่ย โดยมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกอย่าง Stanford หรือ Berkeley อาจจะต้องอ่าน SOP ถึงปีละ 16000 – 20000 ชุดกันเลยทีเดียว SOP ที่สร้างสรรค์และโดดเด่น จะทำให้ Stand out และสามารถเพิ่มโอกาสในการได้ที่เรียนได้

ขั้นตอนการเขียน SOP

1. ก่อนเขียน SOP ควรจะศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตร และมหาวิทยาลัยที่เราต้องการสมัครให้เข้าใจ เพราะสิ่งที่คุณควรเขียนใน SOP คือ สิ่งที่รู้เกี่ยวกับคอร์สเรียน และมหาวิทยาลัย รวมถึงเหตุผลที่สมัครเรียนคอร์สและมหาวิทยาลัยนั้นๆ

2. ศึกษารูปแบบของ SOP รวมถึงเทคนิคต่างๆ ในการเขียน SOP

3. คิด Format หรือวางพล๊อตคร่าวๆ ว่าจะเขียนอะไรบ้าง SOP ที่ดีควรจะมีความชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้น ส่วนเนื้อความหลัก และส่วนจบท้าย และมีความสอดคล้องของแต่ละส่วน ตรงประเด็น และสะท้อนความคิดของคุณให้ได้ดีที่สุด

รูปแบบคร่าวๆ ของ SOP อาจแบ่งออกเป็น 4 ย่อหน้า ดังนี้

ย่อหน้าที่ 1 – กล่าวถึงแรงกระตุ้นให้เลือกเรียนสาขานี้ ทำไมถึงเลือกสาขา/วิชานี้ เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ และ ความสนใจของเราอย่างไร

ย่อหน้าที่ 2 – กล่าวถึงรายละเอียดของคอร์สที่เลือกและความเหมาะสมกับเรา แสดงให้เห็นถึงความสนใจ และการค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับคอร์สเรียน อ้างอิงถึงแต่ละวิชาในหลักสูตร พยายามกล่าวถึงเหตุผลที่ต้องการเรียนหลักสูตร/มหาวิทยาลัยนี้ และ หลักสูตรนี้พิเศษสำหรับเราอย่าง

ย่อหน้าที่ 3 – ประวัติการเรียนและการทำงานที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร เขียนเน้นความสำเร็จที่ผ่านมา หรือ ประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับคอร์สเรียน กล่าวถึงเกรดเฉลี่ยและใบแสดงผลการศึกษา ถ้าในปีที่1และ2ได้เกรดเฉลี่ยที่ไม่สูงนัก ให้เน้นไปที่จุดเด่นในปีที่3และปีที่4 พยายามระลึกเสมอว่า SOP ไม่ใช่ใบสมัคร ควรนำเสนอข้อมูลที่ต่างกันออกไป และทำให้ประวัติของตนเองดูน่าสนใจยิ่งขึ้น

ย่อหน้าที่ 4 – นำเสนอการวางแผนอนาคต ประโยชน์ของคอร์สนี้ รวมถึงความคาดหวัง พยายามเชื่อมโยงแผนในอนาคตเข้ากับคอร์สที่เลือกเรียน และอธิบายสิ่งที่คุณคิดว่าคอร์สนี้จะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในสายอาชีพ หรือนำไปพัฒนาตนเอง

 

Do’s and Don’ts

• อธิบายตัวตนของผู้สมัครให้มากที่สุด และชัดเจนที่สุด ควรเน้นจุดแข็ง และอธิบายจุดด้อย

• เขียนเหตุผลที่เลือกเรียนในหลักสูตร และมหาวิทยาลัยนั้นๆ อย่างชัดเจน

• ตรงประเด็น ไม่จำเป็นต้องเขียนคำชื่นชมมหาวิทยาลัยมากเกินไป เขาไม่อ่านส่วนนี้หรอก

• เช็คภาษา ตัวสะกด ไม่ให้มีข้อผิดพลาด

• อย่าคัดลอกส่วนใดส่วนหนึ่งของ SoP ที่คุณเจอในอินเตอร์เน็ต มหาวิทยาลัยรู้อยู่แล้วว่าคุณคัดลอกมา และจะปฏิเสธใบสมัครของคุณทันที

• One-size doesn’t fit all

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการเขียน Statement of Purpose ได้ตามลิ๊งค์

https://grad.berkeley.edu/admissions/state_purpose.shtml

http://www.ceu.hu/admissions/statement-tips

https://ed.stanford.edu/blog/?p=17